วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีทหารเรืออื่น ๆ

๑. การอ่านตัวเลขที่ลงท้ายด้วยหนึ่ง

**ตามปกติเรือที่ปฏิบัติราชการอยู่ในทะเลย่อมจะมีเสียงคลืนลมและเครื่องจักรรบกวนการสั่งการอยู่เสมอ ฉะนั้นการสั่งการก็ดี การขานตอบพูดจากันก็ดี จึงต้องตะโกนหรือใช้เสียงที่ดังกว่าปกติ สำหรับชาวนาวีไทยก็เช่นเดียวกัน สำหรับจำนวนตัวเลขที่ใช้ ในการติดต่อ เช่น การสั่งศูนย์ปืน มุมหัน มุมกระดก เป็นต้น ที่ลงท้ายด้วยหนึ่งนั้น ตามธรรมดาจะออกเสียง "เอ็ด" ซึ่งคล้ายกับ "เจ็ด" มากเพื่อความถูกต้องชัดเจน เราจึงออกเสียง "หนึ่ง" แทน "เอ็ด" เสมอ เช่น "๑๑" อ่าน "สิบหนึ่ง" "๒๕๑" อ่าน "สองร้อยห้าสิบหนึ่ง" เป็นต้น

๒. การเขียนเวลาของทหารเรือ
** นิยมเขียนด้วยเลข ๔ ตัว (ไม่มี จุด เเละ น. ลงท้าย) เริ่มตั้งเเต่ ๐๐๐๐ ถึง ๒๔๐๐

** ปัจจุบันนี้กำหนดวันเวลาสำหรับส่งวิทยุ โทรเลข ใช้ตัวเลข ๖ ตัว คือ ๒ ตัวเเทนวันที่ และ ๔ ตัวหลังเเทนเวลา เช่น วันที่ ๔ ก.ค.๑๓ เวลา ๑๕๓๐ เขียนว่า ๐๔๑๕๓๐ สำหรับเดือนไม่เขียน ให้เข้าใจเอาเองว่าอยู่ในเดือนที่รับโทรเลขนั้น

1 ความคิดเห็น:

  1. สีมัลติคัลเลอร์มากๆ สดใสดี แต่สีม่วงมันอ่านยากไปนิด

    ผมว่า ถ้าจะนำเสนอประเพณีทหารเรือแบบเป็นหมวดหมู่ หรือเป็นเรื่องๆ ไปจะดีกว่าไหมครับ เวลาสืบค้นหรือใช้ search engine มันน่าจะทำให้หาง่ายหรือตรงความต้องการมากกว่านะครับ

    ตอบลบ